ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน

ด้านการจัดการเรียนการสอน
โรงเรียนบ้านสันกำแพง จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล ๒-๓ และระดับประถมศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖  ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๑) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านสันกำแพง พุทธศักราช ๒๕๕๒ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐) เพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ภาษาจีน เพิ่มเติมกระบวนการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ (Independent Study : IS) บูรณาการจัดการเรียน   การสอน เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก มีทักษะความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระดับเดียวกับมาตรฐานสากล มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพเยาวชนสู่ยุคศตวรรษที่ ๒๑ แบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน ประกอบด้วย
IS ๑ - การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมติฐาน ค้นคว้าแสวงหาความรู้และฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้
IS ๒ – การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับ มาพัฒนาวิธีการการถ่ายทอด/สื่อสารความหมาย/แนวคิด ข้อมูลและองค์ความรู้ ด้วยวิธีการนำเสนอที่เหมาะสมหลากหลายรูปแบบ และมีประสิทธิภาพ
IS ๓ – การนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนนำองค์ความรู้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดบริการสาธารณะ (Public Service ) ในระดับช่วงชั้นที่ ๑ (ป.๑-๓) จัดเป็นหน่วยการเรียนรู้เฉพาะในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่วนระดับช่วงชั้นที่ ๒ (ป.๔-๖) ได้จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม  ๑ รายวิชา (๔๐ ชั่วโมง/ปี) และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านสันกำแพง พุทธศักราช ๒๕๕๒ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐) ซึ่งได้ปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และทิศทาง
แผนการศึกษาแห่งชาติ แนวทางการพัฒนาการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ นโยบายขับเคลื่อนการศึกษา
สู่ยุค Thailand  ๔.๐  ได้ปรับโครงสร้างเวลาเรียน เพิ่มชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษ ช่วงชั้นที่ ๑ จาก ๔๐ ชั่วโมง/ปี เป็น ๒๐๐ ชั่วโมง/ปี  และกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
โรงเรียนได้นำนวัตกรรมกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาตามแนวทฤษฎี Constructionism มาปรับใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๓ เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน มีจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project based Learning) ได้สรุปเป็น Best Practice ๕ ขั้นตอน ตามแนวทฤษฎี Constructionism (๕ Steps to Constructionism) ดังนี้
ขั้นที่ ๑ จุดประกายความคิด (Sparkling) กระตุ้นให้นักเรียนใฝ่เรียนรู้ มีกระบวนการคิด รู้จัก
การเลือกใช้ข้อมูลให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง
ขั้นที่ ๒ สะกิดให้ค้นคว้า (Searching) เพื่อให้นักเรียนนำข้อมูลมาวางแผนและแบ่งหน้าที่
ตามความถนัดและความสนใจของแต่ละบุคคลในกลุ่ม มีกระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนรู้จักทำงานเป็นทีม
     ขั้นที่  ๓ นำพาสู่การปฏิบัติ (Studying ) นักเรียนสามารถทำงานด้วยตนเอง ปฏิบัติจริง และแก้ปัญหาได้
     ขั้นที่ ๔ จัดองค์ความรู้ (Summarizing) นักเรียนสามารถวิเคราะห์ แยกแยะจัดองค์ความรู้         จากการเรียนและปฏิบัติจริง ผ่านสื่อเทคโนโลยีต่างๆ เช่น กล้องดิจิตอล  โปรแกรม Movie Maker  หนังสือเล่มเล็ก เป็นต้น
ขั้นที่  ๕ นำเสนอควบคู่การประเมิน (Showing and Sharing) นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์จากการเรียนรู้ อภิปรายเพื่อซักถาม เสนอแนะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำไปพัฒนาผลงาน
การมีส่วนร่วมในการประเมินผลงานและให้คะแนนเพื่อนกลุ่มอื่นๆ
หลักสูตรที่เป็นทางเลือกส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนตามความถนัดและความสนใจ ได้แก่ โครงการห้องเรียนพิเศษด้านภาษาอังกฤษ Mini English Program (MEP) จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ชั้นปฐมวัย จำนวน ๒ ห้อง และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖  จำนวน ๖ ห้อง ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ Science & Math Program (SMP) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ จำนวน ๖ ห้อง ห้องเรียนคู่ขนานห้องพิเศษซึ่งผู้ปกครองขาดความพร้อมด้านการเงิน จำนวน ๖ ห้อง  และห้องเรียนปกติ General Program (GP)  จำนวน  ๒๙ ห้อง รวมทั้งสิ้น ๔๙ ห้องเรียน
หลักสูตรการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล Individualized Education Program (IEP) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ จากการคัดกรองของครูการศึกษาพิเศษและนักจิตวิทยา แพทย์ มีนักเรียนที่มีความบกพร่องประเภทต่างๆ ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ รวมจำนวน ๑๑๔ คน ปีการศึกษา ๒๕๖๐ รวมจำนวน ๘๘  คน และปีการศึกษา ๒๕๖๑ รวมจำนวน ๗๒ คน เฉลี่ยระหว่างปีการศึกษา ๒๕๕๙-๒๕๖๑ ร้อยละ ๘๘ เป็นนักเรียนที่มีบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ร้อยละ ๑๒ เป็นนักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญา(ID) บกพร่องทางร่างกาย ทางการพูด การได้ยิน ออทิสติก และพิการซ้อน       
บริหารจัดการขับเคลื่อนพัฒนาโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศตามระบบคุณภาพมาตรฐานสากล ให้ผู้เรียน
มีศักยภาพเป็นพลโลก เป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสารสองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก ด้วยนวัตกรรมการบริหารจัดการ MCC (Management by decentralized  and teamwork : Constructionism : Cooperation) การบริหารจัดการโดยการกระจายอำนาจทำงานเป็นทีมสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและปฏิบัติงานด้วยความร่วมมือ  
    M : (Management by decentralized  and  teamwork) การบริหารจัดการโดยการกระจายอำนาจและการทำงานเป็นทีม
    C : (Constructionism) การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง คือ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติหรือการสร้างงาน ตามความถนัดและความสนใจของแต่ละบุคคล จุดประกายความคิด เรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยี สร้างองค์ความรู้เปิดโอกาสพัฒนาตนเองให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น   แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  
    C : (Cooperation) ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการปฏิบัติหน้าที่งานแก้ปัญหาพัฒนาร่วมกัน  
กำกับติดตามควบคุมคุณภาพการดำเนินงานทุกขั้นตอนด้วยวงจรเดรมมิ่ง PDCA ประกอบด้วย
ขั้นตอน ๔  ประการดังนี้   
๑)  P : Plan คือ ขั้นตอนการวางแผน   
๒)  D : DO คือ ขั้นตอนการดำเนินการตามแผน  
๓)  C : Check คือ ขั้นตอนการตรวจสอบและประเมินผล
๔)  A : Action คือ ขั้นตอนการปรับปรุงดำเนินการให้ดียิ่งขึ้น